Next Normal โลก Digital Marketing ที่ไม่เหมือนเดิม

upmoneyday by chanikan

COVID-19 ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค

เมื่อไม่นานมานี้ Think with Google เผยแพร่ รายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้​ประจำปี 2021 ที่จัดทำโดย Google, Temasek และ Bain & Company ระบุว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคนี้ กำลังก้าวเข้าสู่ “ทศวรรษแห่งดิจิทัล” และจะมีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2573

จำนวนผู้บริโภคและผู้ค้าที่ใช้งานบนแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจ E-Commerce ธุรกิจบริการจัดส่งอาหาร และบริการด้านการเงินดิจิทัล ส่งผลให้มูลค่าสินค้ารวม (Gross Merchandise Volume: GMV) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจแตะ 1.78 แสนล้านดอลลาร์

ที่สำคัญไทยยังคงเป็นตลาดที่มีเศรษฐกิจดิจิทัลใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผลกระทบที่เห็นได้ชัดในโลกของ Digital Marketing

ข้อมูลของรายงานของ Google ข้างต้นสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้จ่ายเปลี่ยนไป โดยเฉพาะในช่องทาง E-Commerce ที่เป็นแรงผลักดันที่สำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัลไทย และรายงานฉบับนี้ยังคาดว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจหลักที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลไทยในทศวรรษหน้า โดยภาคธุรกิจ E-Commerce เติบโตขึ้นถึง 68% จากปีก่อน

อันเป็นผลส่วนหนึ่งมาจากการโหมกระแสแคมเปญดีลพิเศษลดประจำเดือนของ Market Place Lazada และ Shopee ที่ทุ่มงบประมาณเต็มพิกัดโฆษณาให้ผู้บริโภคเห็นทุกช่องทางในการรับรู้ข่าวสารดีลพิเศษ การลดราคาครั้งพิเศษของแบรนด์ดัง หรือสินค้าที่อยู่ในความสนใจ (Wish List) ของแต่ละคน

โดยนักการตลาดเห็นแนวโน้มการจับจ่ายของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนี้จาก Data Insights และ Performance Report ที่ปรากฎขึ้นในรายงาน ROI (Return on Investment) ก่อนหน้านี้มาสักระยะหนึ่งแล้ว

แต่ที่ต้องจับตาดูเทรนด์ความเปลี่ยนแปลงนี้ให้แน่ชัด คือ เมื่อคนคุ้นเคยกับโปรโมชั่น โค้ดส่วนลด โค้ดส่งฟรี Voucher ราคาพิเศษ ที่ Platform ดังเหล่านี้แล้ว

ผู้คนจะเริ่มดูสินค้าจากช่องทางของแบรนด์และส่องราคารับโค้ดส่วนลดคร่าวๆไว้ก่อนและรอคอยที่จะซื้อในแคมเปญพิเศษ ของ Market Place เจ้าดังอย่างใจจดจ่อ …โดยไม่เปลี่ยนใจมาซื้อสินค้าในช่องทางอื่นๆอีกเลยหรือไม่ !?

ซึ่งจากตัวเลขของรายงาน Google ฉบับนี้ก็ทำให้เราได้เห็นคำตอบและทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้นแล้ว

2 ข้อดีเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน

  • สร้าง Brand ให้อยู่ในใจผู้บริโภค การเป็นที่หนึ่งในใจของผู้บริโภค (Top of Mind) ในยุคนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็เป็นโจทย์ที่ท้าทายทางการตลาดที่คุณต้องทำให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายจดจำคุณให้ได้ โดยมีสมการสำคัญที่ต้องแก้คือเมื่อถึงวันพิเศษ เทศกาลลดแห่งเดือน ทำอย่างไรให้ลูกค้าจะจดจำได้ว่าจะเข้าไปช้อปปิ้งที่หน้าร้าน แบบ Official ของคุณ ซึ่งแบรนด์อาจจะแลกการจดจำนั้นด้วยส่วนลดพิเศษ ค่าส่งฟรี หรือ Live Streaming ฯลฯ เป็นการวางกลยุทธ์เพื่อต้องการย้ำเตือน (Remind) ให้กับผู้บริโภคกลับมาช้อปปิ้งตามนัดหมายเมื่อถึงเวลาที่คุ้นเคย
  • สร้าง Call To Action ให้โดดเด่น แบรนด์ยังต้องดูแลภาพลักษณ์ สร้างความมั่นใจให้เกิด Trust   อย่างต่อเนื่อง คู่ขนานกับการสร้างดีลพิเศษ ส่วนลดที่โดดเด่นสะดุดตา ในยุคที่ข้อมูลท่วมท้นการรับชมเนื้อหาที่บอกเล่าถึงแบรนด์อย่างวนเวียนอาจไม่ช่วยให้ผู้บริโภคทั้งในแง่การจดจำและการสร้างรายได้หากแบรนด์ไม่กำหนดสิ่งที่ต้องการให้ผู้รับชมทำบางสิ่งที่เรียกว่า Conversion ตามวัตถุประสงค์ทางการตลาดที่แน่ชัดและมีกลยุทธ์เชิง Dataไว้ตั้งแต่เริ่มแรก

2 ข้อเสียที่แบรนด์ต้องเร่งปรับตัว

  • เกิดการชะงักงันทางการใช้จ่ายแบรนด์ควรเร่งทำ CRM อย่าปล่อยให้ความเคยชินของพฤติกรรมลูกค้าแบบนี้กลายเป็นเรื่องปกติที่แบรนด์ไม่ปรับตัวเชิงข้อมูล ในทางกลับกันแม้เราจะเห็นข้อดีเกิดขึ้น แต่ในมุมกลับที่อันตรายหากเราปล่อยให้ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเช่นนี้ต่อไป โดยที่แบรนด์ไม่เรียนรู้ที่จะนำข้อมูล Insights พยายามรู้จัก รู้ใจผู้บริโภคมาทำสิ่งที่คู่ขนานด้วยการต้องเร่งเก็บข้อมูล 3 ด้าน 1. Online (Digital Name) 2.ความสนใจของลูกค้า (Interest) 3. พฤติกรรมของลูกค้า (Behavior)  โดยเป็นการเก็บแบบ 1 st Party Data (ฐานข้อมูลของแบรนด์เอง) ก็ถือเป็นเรื่องประมาทกับการเตรียมรับมือพายุความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคลูกใหญ่รอบนี้
  • จัด Budget ทางการตลาดใหม่เสมอ เป็นสถานการณ์ที่ประมาทไม่ได้ แม้ว่ายอดขายของคุณจะมาจากช่องทาง E-Commerce อยู่ แต่การนำเม็ดเงินเดียวกันมาชั่งน้ำหนักให้เกิดประโยชน์สูงสุดนอกเหนือจากการทำ PR .ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบเดิมๆ วัดผล (Mesurement) ในความสำเร็จแบบเดิม ก็เป็นเรื่องจำเป็นเชิงกลยุทธ์ที่ต้องทบทวนใหม่เสมอ

เพราะในโลกที่เข้าสู่ยุค Covid -19 เส้นทางการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคเปลี่ยนไป และหันไปที่ E-Commerce มากขึ้น แน่ชัดแล้วว่าหลัง New Normal เรากำลังเข้าสู่ยุค Next Normal และ Never Normal พฤติกรรมของผู้คนในยุคถัดไปที่จะไม่มีทางกลับมาเป็นเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว

หากมีข้อสงสัย สอบถามปรึกษาที่ Upmoneyday by Chanikan

ฟังเวอร์ชั่นเสียงผ่าน
YOUTUBE CHANNEL UPMONEYDAY DIGITAL MARKETING